วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02 23/06/2552

โครงสร้างข้อมูล เกิดจากคำสองคำได้แก่ “โครงสร้าง” และ “ข้อมูล” ซึ่งคำว่า “โครงสร้าง” เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ดังนั้นโครงสร้างข้อมูลจึงหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างนั้นๆประเภทของโครงสร้างข้อมูลในภาษาคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ- เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้โดยทั่วไปในภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะข้อมูล
1.1 ข้อมูลเบื้องต้น Primitive Data Typesได้แก่ จำนวนเต็ม จำนวนจริง และตัวอักขระ
1.2 ข้อมูลโครงสร้าง Structured Data Typesได้แก่ แถวลำดับ ระเบียนข้อมูล และแฟ้มข้อมูล
2. โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ-เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เกิดจากจินตนาการของผู้ใช้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในโปรแกรมที่สร้างขึ้น แบ่ง เป็น 2 ประเภท
2.1 โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น Linear Data Structuresความสัมพันธ์ของข้อมูลจะเรียงต่อเนื่องกัน เช่น ลิสต์ สแตก คิว สตริง
2.2 โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ Non-Linear Data Structuresข้อมูลแต่ละตัวสามารถมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นได้หลายตัวได้แก่ ทรี และกราฟ
ในการเลือกใช้โครงสร้างข้อมูลแบบใดนั้น จะต้องคำนึงถึง
1 โครงสร้างข้อมูลนั้นสามารถสร้างความสัมพันธ์ให้กับข้อมูลชุดนั้น ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
2 โครงสร้างนั้นต้องง่ายต่อการดำเนินการในระบบงาน
การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำหลัก
ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะมีการแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำหลักอยู่ 2 วิธี คือ
1 การแทนที่ข้อมูลแบบ สแตติก ข้อมูลที่มีการจองเนื้อที่แบบคงที่แน่นอนต้องมีการกำหนดขนาดก่อนการใช้งาน
2 การแทนที่ข้อมูลแบบไดนามิก ข้อมูลที่ไม่ต้องจองเนื้อที่ขนาดของเนื้อที่ยืดหยุ่นได้ตามความต้องการของผู้ใช้หน่วยความจำที่ไม่ใช้สามารถส่งคืนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกขั้นตอนวิธีที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีความถูกต้อง
2. ใช้เวลาในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด
3. สั้น กระชับ มีเฉพาะขั้นตอนที่จำเป็นเท่านั้น
4. ใช้หน่วยความจำน้อยที่สุด
5. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
6. ใช้เวลาในการพัฒนาน้อยที่สุด
7. ง่ายต่อการทำความเข้าใจภาษาขั้นตอนวิธี Algorithm Languageเป็นภาษาสำหรับเขียนขั้นตอนวิธี มีรูปแบบที่สั้น กระชับและรัดกุมและมีข้อกำหนด ดังต่อไปนี้(การรับค่านั่นเอง)
1. ตัวแปรจะต้องเขียนแทนด้วยตัวอักษรหรือตัวอักษรผสมตัวเลข
2. การกำหนดค่าให้ตัวแปร ใช้เครื่องหมาย
3. นิพจน์ที่เป็นการคำนวณจะมีลำดับขั้นของการคำนวณตามลำดับนิพจน์ที่เป็นตรรกศาสตร์ จะใช้เครื่องหมายในการเปรียบเทียบ คือ= เท่ากับ = ไม่เท่ากับ< น้อยกว่า > มากกว่า≤ น้อยกว่าหรือเท่ากับ ≥ มากกว่าหรือเท่ากับ
4. ข้อความไปยังขั้นตอน ใช้รูปแบบ คือgoto เลขที่ขั้นตอน
5. การเลือกทำตามเงื่อนไข จะต้องตรวจสอบเงื่อนไขก่อนทำงาน มีรูปแบบดังนี้- แบบทางเลือกเดียว ใช้รูปแบบ คือif (condition) then statement 1- แบบสองทางเลือก ใช้รูปแบบ คือif (condition) then statement 1else statement
6. การทำงานแบบซ้ำ- แบบทดสอบเงื่อนไขที่ต้นวงรอบ มีรูปแบบ ดังนี้while (condition) dostatement- แบบทำซ้ำด้วยจำนวนครั้งของการทำซ้ำคงที่ มีรูปแบบfor a=b to n by c dostatement
7. คำอธิบาย เป็นข้อความที่อธิบายรายละเอียดของขั้นตอนการทำงาน จะอยู่ในเครื่องหมาย /

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น